ปฏิทินวันพระ

วันมาฆบูชา 2567 ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ความเป็นมา รวมถึงมีความสำคัญอย่างไร

วันมาฆบูชา 2567

วันมาฆบูชา เป็นหนึ่งในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี โดยในปีนี้ตรงกับ วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 โดยคำว่า “มาฆะ” นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ในอดีต โดยย่อมาจากคำว่า “มาฆปุรณมี” ซึ่งจะหมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 นั่นเอง แล้วมีความสำคัญอย่างไรบ้าง?

ความสำคัญของวันมาฆบูชา

เป็นวันที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงแสดง “โอวาทปาฏิโมกข์” แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นระยะเวลากว่า 9 เดือน รวมถึงเป็นวันที่พระสงฆ์ 1,250 รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย (คุณทราบไหม? ทำไมถึงมาโดยมิได้นัดหมายได้?) ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญจะมีเนื้อหาว่า “ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์” อีกทั้งวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ 4 ประการ เรียกว่า “จตุรสังคายนา” โดยมี 4 เหตุการณ์ดังต่อไปนี้คือ

  1. พระสงฆ์ 1,250 รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวัน มหาวิหาร โดยมิได้นัดหมาย
  2. พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอน 227 ข้อ
  3. พระพุทธเจ้าทรงประกาศ “อริยสัจ 4” ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
  4. เป็นการสถาปนา “สังฆกรรม” คือการประชุมของพระสงฆ์เพื่อทำกิจตามพระวินัย เพื่อลงมติในเรื่องสำคัญต่าง ๆ

วันมาฆบูชา เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วันจาตุรงคสันนิบาต” ซึ่งคำว่า จาตุรงคสันนิบาต มีความหมายตามการแยกศัพท์คือ     

  • จาตุร แปลว่า 4
  • องค์ แปลว่า ส่วน
  • สันนิบาต แปลว่า ประชุม

หลักธรรมปฏิบัติ

  • ทาน: การให้
  • ศีล: การรักษาศีล
  • ภาวนา: การฝึกสมาธิ

บทสวดโอวาทปาฏิโมกข์

(หันทะ มะยัง โอวาทะปาฏิโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
การไม่ทำบาปทั้งปวง

กุสะลัสสูปะสัมปะทา
การทำกุศลให้ถึงพร้อม

สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ

เอตัง พุทธานะ สาสะนัง
ธรรม 3 อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
คือความอดกลั้นเป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง

นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา
ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง

นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย

สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย

อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต
การไม่พูดร้าย, การไม่ทำร้าย

ปาติโมกเข จะ สังวะโร
การสำรวมในปาฏิโมกข์

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง
ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
การนอนการนั่งในที่อันสงัด

อะธิจิตเต จะ อาโยโค
ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง

เอตัง พุทธานะสาสะนัง
ธรรม 6 อย่างนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

คำแปล 

การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ ธรรม 3 อย่างนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง ผู้รู้ทั้งหลายกว่าพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้ทำให้สัตว์อื่นลำบากอยู่ ไม่ถือว่าเป็นสมณะ การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย การสำรวมในปาฏิโมกข์ ความเป็นผู้รู้ ประมาณในการบริโภค การนอน การนั่ง ในที่อันสงัด ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง ธรรม 6 อย่างนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

พิธีกรรมหรือวิธีต่างๆที่ทำในวันมาฆบูชา

  • เวียนเทียน
  • ฟังพระธรรมเทศนา
  • นั่งสมาธิ
  • ถวายภัตตาหารเช้า
  • ถือศีลในข้อต่างๆ
  • และอื่นๆอีกมากมาย

สรุป

วันมาฆบูชา เป็นวันที่ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ 4 ประการ เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนควรน้อมนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติ เพื่อความสุขสงบในชีวิต ซึ่งหลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หวังว่าจะเป็นการระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารวมถึงหลักธรรมคำสอน และ เรื่องราวดีๆ เหล่านี้เอาไว้ตราบนานเท่านานนะครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

You may also like

ปฏิทินวันพระ รวมปฏิทินวันพระ ปี 2567
ปฏิทินวันพระ

รวมปฏิทินวันพระ ปี 2567

“วันพระ” หรือ “วันธรรมสวนะ” นั้นในสมัยพุทธกาลถือว่าเป็นวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาลนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ทราบเรื่องราวของนักบวชนอกพุทธ (ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ) ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ จึงมากราบทูลกับพระพุทธองค์ ถึงเรื่องการประชุมกัน โดยการแสดงธรรมในทุกๆศาสนาประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาสืบเนื่องไปจึงทูลขอพุทธานุญาตจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ปฏิทินวันพระ เดือนมกราคม ปี 2567
ปฏิทินวันพระ

ปฏิทินวันพระ เดือนมกราคม ปี 2567

สำหรับ “วันพระ” หรือ “วันธรรมสวนะ” นั้นในสมัยพุทธกาลถือว่าเป็นวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาลนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ทราบเรื่องราวของนักบวชนอกพุทธ (ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ ) ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ จึงมากราบทูลกับพระพุทธองค์ ถึงเรื่องการประชุมกัน โดยการแสดงธรรมในทุกๆศาสนาประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ